ข้อมูลพื้นฐานเทศบาล
ทำเนียบบุคลากร
หมู่บ้านในเขตเทศบาล
บริการออนไลน์
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ
เทศบัญญัติสาธารณสุขฯ
งานกิจการสภา
เฟสบุ๊กเทศบาล


  หน้าแรก     ความหมายของเทศบาล 

ความหมายของเทศบาล
ความหมายของเทศบาล  

ความหมายของ "เทศบาล"
 

                                                                                                

ความหมายของเทศบาล
                                                                                                                                          

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 
เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเอง ตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.ศ.116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อย ๆ มา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการ กระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 มีการยกฐานะสุขาภิบาลขึ้นเป็นเทศบาลหลายแห่ง ต่อมาได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงยกเลิก กฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลหลายครั้ง จนในที่สุดได้มีการตราพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม ทั้งหมดขณะนี้ยังมีผลบังคับใช้ซึ่งมีการแก้ไขครั้งสุดท้าย โดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2543 เทศบาลใน ปัจจุบันทั้งสิ้น จำนวน 1,164 แห่ง

การปกครองท้องถิ่นได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้ว แต่การปกครอง ท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นรูปใดก็ยังไม่เข้มแข็งพอแต่พอจะเป็นหลักได้บ้างก็คือการปกครองท้องถิ่นรูปแบบของกรุงเทพมหานคร และเทศบาลเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลหลายรัฐบาลได้พยายามที่จะพัฒนารูปแบบให้เหมาะสมกับประเทศไทยอยู่หลายครั้ง โดยมี การทดลองรูปแบบเมืองพัทยาแต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควรจึงกลับมาดำเนินการในรูปแบบเทศบาล โดยให้เมืองพัทยาบริหารตาม รูปแบบของเทศบาลนคร ในปัจจุบันนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ สามารถรวมการปกครองท้องถิ่นในจังหวัดให้เป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดได้ดังนี้

"มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น" 

การได้มาซึ่งฝ่ายบริหารของเทศบาล ปัจจุบัน เทศบาลทุกประเภท มีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

สายตรงผู้บริหาร
การให้บริการ
กฎหมายน่ารู้
ความรู้เกี่ยวกับเทศบาล
โครงสร้างการบริหาร
เว็บไซต์บริการ
ทำเนียบบุคลากร

แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
ปฏิทินกิจกรรม
ธันวาคม 2567
อา พฤ
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 3031 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 30 ธันวาคม 2567
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 2 คน
หมายเลข IP 3.15.1.23
คุณเข้าชมลำดับที่ 1,949,677

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สำนักปลัดเทศบาล
ข้อมูลข่าวสาร
E-service
กองคลัง
แบบสอบถาม
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
แจ้งร้องเรียนการทุจริต
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
            
 
เทศบาลตำบลหินดาด
เลขที่ ๓๕๕ หมู่ที่ ๑ ถนนราชสีมา-บุรีรัมย์ ตำบลหินดาด อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ๓๐๒๔๐
Tel : ๐๔๔-๙๕๐-๔๓๘,๐๘๑-๓๒๘๘๔๕๕
Email : municipality@hindadcity.go.th
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.